วันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554







  • ช่วยเหลือ

    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

              เนื่องจากสถานการณ์อุทกภัยในภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศ ได้สร้างความเดือดร้อนแก่ประชาชนจำนวนมาก และแม้ว่าจะมีหลายหน่วยงานได้ยื่นมือเข้าช่วยเหลืออย่างเต็มกำลังแล้ว ทว่าอาจยังไม่ทั่วถึงในพื้นที่บางจุด หรืออาจเกิดปัญหาเฉพาะหน้า ไม่ว่าจะมีคนบาดเจ็บ-เสียชีวิต, ติดอยู่ภายในบ้าน ไม่สามารถออกมาได้, ขาดแคลนน้ำ-อาหาร, ต้องการแจ้งตัดไฟในพื้นที่, หรือตรวจสอบเส้นทางการเดินทางในพื้นที่น้ำท่วม ฯลฯ

              ด้วยปัญหานานับประการที่กล่าวมานั้น ทางทีมงานกระปุกดอทคอม จึงขอรวบรวมเบอร์โทรศัพท์สำคัญและจำเป็นในยามสถานการณ์น้ำท่วม เพื่อให้ทุกท่านสามารถแจ้งไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ที่ต้องการติดต่อช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที ดังต่อไปนี้
    ช่วยเหลือ


      สายด่วนน้ำท่วม

              - สำนักนายกรัฐมนตรี โทร.1111

              - ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม (ศปภ.) สายด่วนรับแจ้ง-เตือนภัย ตลอด 24 ชั่วโมง โทร.1111 กด 5

              - ศูนย์น้ำท่วม กทม. สอบถาม ขอความช่วยเหลือ (24 ชั่วโมง) โทร.1555 หรือ 0-2248-5115

              - สายด่วนกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) โทร.1784

              - สถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน บริการแพทย์ฉุกเฉิน และนำส่งโรงพยาบาล ฟรี โทร.1669

              - ศูนย์ความปลอดภัยคมนาคม โทร.1356

              - สายด่วนกรมทางหลวง โทร.1586

              - ตำรวจทางหลวง  สอบถามเส้นทางน้ำท่วม ได้ตลอด 24 ชั่วโมง โทร.1193

              - ศูนย์ความปลอดภัย กรมทางหลวงชนบท โทร.1146

              - สายด่วน บขส. สอบถามเส้นทางเดินรถต่างจังหวัด โทร.1490

              - สายด่วนกรมชลประทาน เช็คปริมาณน้ำขึ้น โทร.1460 หรือ 0-2669-2560

              - ศูนย์บริหารงานอุบัติภัย สำนักบริหารบำรุงทาง โทร.0-2354-6551

              - สำนักงานประชาสัมพันธ์ โทร.0-2354-6530, 0-2354-6668-76 ต่อ 2014, 2031

              - สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ขอความช่วยเหลือน้ำท่วม โทร.1102

              - ศูนย์บริการข้อมูลผู้ใช้ไฟฟ้า การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โทร.1129

              - การไฟฟ้านครหลวง โทร.1130

              - กรมสุขภาพจิต โทร.1323 

              - การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร.1690

              - ท่าอากาศยานไทย โทร. 0-2535-1111 

              - ขอความช่วยเหลือ-พื้นที่น้ำท่วมกับไทยพีบีเอส โทร.0-2790-2111 หรือ sms มาที่ 4268822

              - ศูนย์ประสานและติดตามสถานการณ์น้ำ โทร.0-2243-6956

              - กรมการแพทย์ แจ้ง รพ.ทุกแห่ง ที่ประสบภัยน้ำท่วมหากจำเป็นต้องส่งต่อผู้ป่วย โทร.0-2206-2952, 0-2206-2920, 0-2644-7000 ต่อ 4444

              - กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ผู้ประสบภัยส่ง SMS ขอความช่วยเหลือร้องทุกข์ได้ที่ 4567892 ฟรีทุกเครือข่าย

              - ผู้เดือดร้อนจากน้ำท่วม กทม. ปริมณฑลและภาคกลาง ติดต่อ ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพภาคที่ 1 โทร.02-281-5443

              - สอบถามสถานการณ์น้ำ สมุทรสาคร สมุทรปราการ นนทบุรี ปทุมธานี (ตลอด 24 ชั่วโมง) โทร.0-2583-4102

              - ผู้ประสบภัยทางภาคใต้ สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ที่ กองทัพภาคที่ 4 โทร 0-7538-3405, 0-7538-3253

              - ศูนย์อพยพ กทม.ฝั่งตะวันออก เขตมีนบุรี สอบถาม โทร.087-9803681 คุณเฉลิมศรี / เขตหนองจอก โทร.081-6485557 คุณดำรง (ต่อ)

              - สายด่วนแจ้งจับสัตว์พลัดหลง-จระเข้ ทั่วประเทศ โทร.1362 ตลอด 24 ชม.

              - หน่วยงานราชการ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา (ขอความช่วยเหลือน้ำท่วม) 1102 ศูนย์ประสานงานช่วยเหลือผู้ประสบภัย กรมทหารราบที่ 11 - แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ 08-5254-9559 - แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ 08-9054-4980 - แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน 08-9825-1208, 08-5662-0772 

              - กองทัพไทย - สายด่วนเมืองนนท์ (ช่วยเหลือเฉพาะพื้นที่ จ.นนทบุรีเท่านั้น) 1131 - ทบ.-ทอ.-ทร.-สตช. (ช่วยเหลือเฉพาะพื้นที่ จ.นนทบุรีเท่านั้น) 0-2241-1709 - แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ 0-5479-2433 

              - กองทัพบก - อ.ลำลูกกา - ต้องการขอความช่วยเหลือจากทหาร โทร.หา พ.ท.ดิตถ์ ชวะนันท์ 08-9888-6421 
              
              - หนองจอก ลาดกระบัง - ต้องการขอความช่วยเหลือจากทหาร โทร.หา 0-2190-3984, 0-2190-3985 

              - กทม. ปริมณฑล และภาคกลาง ติดต่อศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพภาคที่ 1 0-2281-1884, 0-2280-3977 

              - เขตห้วยขวาง : ร้อยตรี สุรเชษฐ์ แก้วชื่น

              - (กรณี ขนย้าย, อพยพ) 08-3709-8388 - เขตวังทองหลาง : ร.ต.ฉัตรชัย

              - (กรณี ขนย้าย, อพยพ) 08-6089-2112 - เขตตลิ่งชัน (อพยพ ป้องกันน้ำท่วม) พ.ท.อรรถชัย 08-1661-3316 พ.อ.ณัฐพงษ์ 08-1876-7682 จ.ส.อ.กมล 08-5657-0590 

              - วัดชลประทาน ศูนย์ปากเกร็ด : ร.อ.วชิระพล แสงอุทัย 08-3229-3939 

              - เขตทุ่งครุ/ เขตบางขุนเทียน พ.ท.คึกฤทธิ์ 08-5147-7775 ร.อ.ธนพงษ์ 08-7161-8833 ร.ท.นิรุต 08-6415-9030 

              - กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร - ผู้ประสบภัยส่ง SMS ขอความช่วยเหลือร้องทุกข์ได้ที่ฟรีทุกเครือข่าย 4567892 

              - สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ - เปิดศูนย์ฟอกไตเพื่อผู้ประสบภัยทั่วประเทศ 1330, 1669  

              - ผู้ประสบภัยที่เจ็บป่วยฉุกเฉินต้องรักษาเร่งด่วน ติดต่อ  0-2965-9782-4 

              - กองทัพเรือ - ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพเรือ จัดชุดเคลื่อนที่เร็ว ติดต่อได้ที่ 1.น.อ.อารักษ์ แก้วเอี่ยม หมายเลขโทรศัพท์ 08-1761-3031 2.น.อ.อาภากร อยู่คงแก้ว หมายเลขโทรศัพท์ 08-9964-0100 3.น.ท.ใจเพชร ทองด้วง หมายเลขโทรศัพท์ 08-9150-1684 4.น.ท.ยุทธศักดิ์ จรูญทรัพย์ หมายเลขโทรศัพท์ 08-2203-8201  

              - กรมปศุสัตว์ (พื้นที่ กทม. และปริมณฑล หากต้องการเคลื่อนย้ายสัตว์เลี้ยงออกจากพื้นที่) 08-3709-8388  

              - สำนักการระบายน้ำ (รับแจ้งและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม) 0-2248-5115  

              - ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 1 ปทุมธานี (เฉพาะพื้นที่อยุธยา) 08-1701-4858, 08-1825-1343 

              - แจ้งเหตุมลพิษจากเหตุการณ์น้ำท่วม โทร.1650 

              - รับแจ้งเหตุสนับสนุนช่องทางแจ้งเหตุเพิ่มเติมตลอด 24 ชั่วโมง โทร.1200

      จ.นนทบุรี

              - เทศบาลบางบัวทอง โทร.0-2571-2777, 0-2571-7679

              - เทศบาลนครปากเกร็ด โทร.0-2583-7788

              - ศูนย์ป้องกันและช่วยเหลือฯ เทศบาลนนทบุรี 02-5890489 (24 ชม.) 081-555-3019 081-484-3850


      จ.ปทุมธานี

              - ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 1 ปทุมธานี โทร.081-701-4858, 081-825-1343

              - เทศบาลเมืองปทุมธานี โทร.0-2581-7119-21

              - เทศบาลนครรังสิต โทร.0-2567-5999,0-2567-4945,0-2567-4946


      จ.สมุทรปราการ

              - เทศบาลเมืองสมุทรปราการ โทร.0-2382-6040-2


      จ.พระนครศรีอยุธยา

              - หน่วยกู้ภัยสว่างเมตตา รับแจ้งเหตุ-ช่วยเหลือชาว จ.พระนครศรีอยุธยา ในพื้นที่ อ.มหาราช โทร. 081-669-9272

              - ศูนย์ประสานงานภัยพิบัติ จ.พระนครศรีอยุธยา โทร.0-3533-55210

              - เทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา โทร.0-3525-2168 

              - เทศบาลเมืองอโยธยา โทร.0-3588-1571-3

              - อบจ.พระนครศรีอยุธยา โทร.0-3579-6447

              - การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จ.พระนครศรีอยุธยา โทร.0-3524-1612


      จ.เชียงใหม่

              - ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย กองบิน 41 จ.เชียงใหม่ พร้อมช่วยเหลือประชาชน โทร.053-202609

              - ศูนย์เฉพาะกิจป้องกันสัตว์อันตราย สวนสัตว์เชียงใหม่ แจ้งจับ โทร.053-222-479 ( 24 ชั่วโมง)

              - ศูนย์อุทกวิทยาที่1จังหวัดเชียงใหม่ โทร.053-248925, 053-262683

      จ.น่าน

              - ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยของกองทัพไทยที่ ต.แงง อ.ปัว จ.น่าน โทร.054-792433

              - ศูนย์อํานวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม ปี 2554 จ.น่าน ณ ศาลากลางจังหวัด โทร.054-710-232

      จ.สุราษฎร์ธานี

              - การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดสุราษฎร์ธานี โทร.0-7727-2132

              - การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอเกาะสมุย โทร.0-7742-0995

              - สภาองค์กรชุมชนเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย สุราษฏร์ธานี" ผู้ประสานงาน นายศุภวัฒน์ กล่อมวิเศษ โทร.082-814-9381,นายประวีณ จุลภักดี โทร. 081-397-7442


      จ.นครศรีธรรมราช

              - เทศบาลนครนครศรีธรรมราช รับเรื่องตลอด 24 ชั่วโมง โทร.199, 0-7534-8118, 0-7534-2880-3 

              - ศูนย์อำนวยการป้องกันสาธารณภัย รับเรื่องตลอด 24 ชั่วโมง โทร. 0-7535-8440-4

              - รพ.เทศบาลนครนครศรีฯ รับเรื่องตลอด 24 ชั่วโมง โทร.0-7535-6438 หรือ 0-7535-6014

              - มูลนิธิประชาร่วมใจ นครศรีฯ พร้อมกู้ภัย โทร.0-7534-5599

              - ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม บริเวณอาคารกิจกรรมนักศึกษา ม.วลัยลักษณ์ โทร.0-7567-4013 ต่อ 4013

              - มูลนิธิมหากุศลใต้เต็กเซี่ยงตึ๊ง โทร.0-7534-3602, ความถี่ 168.775MHz. ความถี่ 245 MHz. ช่อง 35 ตลอด 24 ชั่วโมง

              - การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดนครศรีธรรมราช โทร.0-7535-6044

              - โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช โทร.0-7534-0250

              - คปภ.นครศรีธรรมราช - ศูนย์รับแจ้งเหตุผู้ประสบภัยน้ำท่วม ด้านการประกันภัย โทร.0-7534-7322, 081-1748941

              - การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอท่าศาลา โทร.0-7552-1180

              - การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอสิชล 0-7577-1666, 0-7577-1592


      ทางหลวงจังหวัด: สอบถามเส้นทาง

              - ทางหลวงจังหวัดพิจิตร โทร.056-697-016

              - ทางหลวงจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โทร.035-241-092

              - ทางหลวงจังหวัดพิษณุโลก โทร.055-302-626

              - ทางหลวงจังหวัดสิงห์บุรี โทร.036-532-523

              - ทางหลวงจังหวัดลำปาง โทร.054-228-246

              - ทางหลวงจังหวัดลพบุรี โทร.036-411-602

              - ทางหลวงจังหวัดเชียงใหม่ โทร.053-228-246

              - ทางหลวงจังหวัดชัยนาท โทร.056-411-649

              - ทางหลวงจังหวัดอุตรดิตถ์ โทร.055-411-005

              - ทางหลวงจังหวัดอุทัยธานี โทร.056-524-542

              - ทางหลวงจังหวัดนครสวรรค์ โทร.056-221-286

              - ทางหลวงจังหวัดปราจีนบุรี โทร.037-211-098



     ปภ.แนะวิธีปฏิบัติตนช่วงน้ำท่วมอย่างปลอดภัย


      สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

              - สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.นนทบุรี โทร. 0-2591-2471

              - สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ปทุมธานี โทร.0-2581-7119-21

              - สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ลพบุรี โทร.0-3641-4480-1, 0-3641-1936

              - สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.พระนครศรีอยุธยา โทร.0-3533-5798, 0-3533-5803

              - สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.นครนายก โทร.0-3738-6209, 0-3738-6484

              - สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.สุพรรณบุรี โทร.0-3553-6066-71

              - สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.สระบุรี โทร.0-3621-2238

              - สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.สิงห์บุรี โทร.0-3652-0041

              - สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  จ.อ่างทอง โทร.0-3564-0022

              - สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.พิษณุโลก โทร.0-5523-0537-8 , 0-5523-0394

              - สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.นครสวรรค์ โทร.0-5625-6015

              - สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.พิจิตร โทร.0-5661-5932

              - สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.สุโขทัย โทร.0-5561-2415

              - สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ชัยนาท โทร.0-5641-2083

              - สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.อุตรดิตถ์ โทร.0-5544-4132

              - สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ลำปาง โทร.0-5426-5072-4

              - สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.เชียงใหม่ โทร.0-5321-2626

              - สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ลำพูน โทร.0-5356-2963

              - สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ตาก โทร.0-5551-5975

              - สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.อุบลราชธานี โทร.0-4531-2692, 0-4531-3003

              - สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.เลย โทร.0-4286-1579, 0-4296-1581

              - สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.น่าน โทร.054-741061

              - สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.สุราษฎร์ธานี (ตลอด 24 ชั่วโมง) โทร.0-7727-5550-1

              - สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.กระบี่ (ตลอด 24 ชั่วโมง) โทร.0-7561-2639, 0-7561-2649 หรือ 0-7561-2735

              - ศูนย์อำนวยการป้องกันสาธารณภัย จ.ชุมพร (ตลอด 24 ชั่วโมง) โทร.0-77 50-2257 หรือ 0-7750-3230 

              - ศูนย์อำนวยการป้องกันสาธารณภัย จ.พัทลุง (ตลอด 24 ชั่วโมง) โทร.0-7462-0300 และ 0-7461-1652

              - สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.สงขลา โทร.0-7431-6380-2 โทรสาร 0-7431-6382

วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

จิตอาสา และ ขอความช่วยเหลือผ่านเว็ปไซด์


เบอร์โทร ช่วยน้ำท่วม

ที่มา : http://www.thaiflood.com/phonebook/



ประสานความช่วยเหลือนายจ้าง-ลูกจ้าง
โทร. 1193 
ให้บริการแพทย์ฉุกเฉิน และนำส่งโรงพยาบาล ฟรี โทร 1669
สายด่วน การไฟฟ้าภูมิภาค โทร. 1129 
รับแจ้งเหตุน้ำท่วม 24 ชั่วโมง
โทร 1784
ศูนย์ความปลอดภัย
กรมทางหลวงชนบท 1146
สอบถามเส้นทางน้ำท่วม โทร. 1193 
สอบถามข้อมูลสถานการณ์น้ำ โทร. 1460 
แจ้งเหตุมลพิษจากเหตุการณ์น้ำท่วม
โทร. 1650
สอบถามเส้นทางเดินรถต่างจังหวัด
โทร. 1490 


  หน่วยงานราชการ

สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา 
[ ขอความช่วยเหลือน้ำท่วม ]
1102
ศูนย์ประสานงานช่วยเหลือผู้ประสบภัย กรมทหารราบที่ 11
- แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่085-2549559
- แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่089-0544980
- แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน089-8251208
085-6620772
กองทัพไทย
- สายด่วนเมืองนนท์
[ ช่วยเหลือเฉพาะพื้นที่จ.นนทบุรีเท่านั้น ]
1131
- ทบ.-ทอ.-ทร.-สตช.
[ ช่วยเหลือเฉพาะพื้นที่จ.นนทบุรีเท่านั้น ]
02-241-1709
- แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่054-792433
กองทัพบก
- อ.ลำลูกกา
- ต้องการขอความช่วยเหลือจากทหาร โทรหา พ.ท.ดิตถ์ ชวะนันท์
089-8886421
- หนองจอก ลาดกระบัง
- ต้องการขอความช่วยเหลือจากทหาร โทรหา
02-1903984
02-1903985
- กทม. ปริมณฑลและภาคกลาง ติดต่อศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพภาคที่ 102-2811884
02-2803977
- เขตห้วยขวาง : ร้อยตรี สุรเชษฐ์ แก้วชื่น
[ กรณี ขนย้าย,อพยพ ]
083-709-8388
- เขตวังทองหลาง : ร.ต.ฉัตรชัย
[ กรณี ขนย้าย,อพยพ ]
086-0892112
- เขตตลิ่งชัน
[ อพยพ ป้องกันน้ำท่วม ]
พ.ท.อรรถชัย 
081-6613316
พ.อ.ณัฐพงษ์
081-8767682
จ.ส.อ.กมล 
085-6570590
- วัดชลประทาน ศูนย์ปากเกร็ด : ร.อ.วชิระพล แสงอุทัย083-2293939
- เขตทุ่งครุ / เขตบางขุนเทียนพ.ท.คึกฤทธิ์ 
085-1477775
ร.อ.ธนพงษ์ 
087-1618833
ร.ท.นิรุต
086-4159030
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 
- ผู้ประสบภัยส่ง SMS ขอความช่วยเหลือร้องทุกข์ได้ที่ ฟรีทุกเครือข่าย4567892
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ 
- เปิดศูนย์ฟอกไตเพื่อผู้ประสบภัยทั่วประเทศ1330
1669
- ผู้ประสบภัยที่เจ็บป่วยฉุกเฉิน ต้องรักษาเร่งด่วน ติดต่อ02-9659782-4



สำนักนายกรัฐมนตรี
1111
สายด่วน ปภ. (กรมป้องกันและบรรเทา สาธารณภัย)
1784
บริการแพทย์ฉุกเฉิน และนำส่งโรงพยาบาล ฟรี
1669
ศูนย์ความปลอดภัย กรมทางหลวงชนบท
1146
ตำรวจทางหลวง  สอบถามเส้นทางน้ำท่วม ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
1193
การรถไฟแห่งประเทศไทย
1690
สายด่วน กฟภ.
1129
ท่าอากาศยานไทย
02-535-1111
ขอความช่วยเหลือ-พื้นที่น้ำท่วมกับไทยพีบีเอส
02-790-2111 หรือ sms มาที่ 4268822 
ศูนย์ประสานและติดตามสถานการณ์น้ำ
0-2243-6956
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  จ.ลพบุรี
0-3641-4480-1 , 0-3641-1936
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  จ.พิษณุโลก
0-5523-0537-8 , 0-5523-0394
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  จ.พระนครศรีอยุธยา
0-3533-5798 , 0-3533-5803
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จ.พระนครศรีอยุธยา 
035 – 241-612 
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  จ.ตาก
0-5551-5975
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  จ.สิงห์บุรี
0-3652-0041
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  จ.อ่างทอง
0-3564-0022
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  จ.นครสวรรค์
0-5625-6015
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  จ.นนทบุรี
0-2591-2471
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  จ.ปทุมธานี
0-2581-7119-21
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  จ.พิจิตร
0-5661-5932
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  จ.นครนายก
0-3738-6209 , 0-3738-6484
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  จ.สุพรรณบุรี
0-3553-6066-71
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  จ.สระบุรี
0-3621-2238
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  จ.สุโขทัย
0-5561-2415
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดอุทัยธานี
0-5652-4461
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  จ.อุตรดิตถ์
0-5544-4132
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  จ.ลำปาง
0-5426-5072-4
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  จ.เชียงใหม่
0-5321-2626
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  จ.ลำพูน
0-5356-2963
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  จ.อุบลราชธานี
0-4531-2692 , 0-4531-3003
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  จ.เลย
0-4286-1579 , 0-4296-1581
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  จ.ชัยนาท
0-5641-2083
ผู้เดือดร้อนจากน้ำท่วม กทม ปริมณฑลและภาคกลาง ติดต่อ ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพภาคที่  1
02-281-5443 
ศูนย์อุทกวิทยาที่1จังหวัดเชียงใหม่
053-248925, 053-262683  
ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย กองบิน 41 จ.เชียงใหม่ พร้อมช่วยเหลือประชาชน
053-202609 
ศูนย์เฉพาะกิจป้องกันสัตว์อันตราย สวนสัตว์เชียงใหม่ แจ้งจับ
053-222-479 ( 24 ชั่วโมง )
สนง.ชลประทานจังหวัดสมุทรสาคร
034-881175, 034-839037 ต่อ 11



»
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.น่าน โทร. 054-741061 
»
ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยของกองทัพไทยที่ ต.แงง อ.ปัว จ.น่าน โทร. 054-792433 
»
ศูนย์อํานวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม ปี 2554 จ.น่าน ณ ศาลากลางจังหวัด โทร. 054-710-232 
»
สายด่วน ปภ. (กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย) 1784 รับแจ้งเหตุน้ำท่วม 24 ชั่วโมง
»
สายด่วน กรมชลประทาน โทร 1460 หรือ 02 669 2560 (24 ชั่วโมงช่วงวิกฤติ)
»
ผู้ประสบภัยทางภาคใต้ สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ที่ กองทัพภาคที่ 4 โทร 075 -383405,075-383253
»
แจ้งขอความช่วยเหลือและปัญหาน้ำท่วม ได้ที่ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยไทยพีบีเอส โทร. 02-791-1113  หรือ 02-791-1385-7
»
ศูนย์ประสานงานช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม โรงเรียนเทศบาล1 ตลาดเก่า จ.กระบี่ โทร 0-7566-3183
»
เทศบาลนครนครศรีธรรมราช 199075-348-118075-342-880-3 ตลอด 24 ชม.
»
สายด่วน กรมทางหลวง 1586 ตลอด 24 ชั่วโมง
»
ศูนย์ปลอดภัยคมนาคม 1356
»
ศูนย์ความปลอดภัย กรมทางหลวงชนบท 1146
»
การรถไฟแห่งประเทศไทย 1690
»
บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) 1490
»
ตำรวจทางหลวง โทร. 1193 สอบถามเส้นทางน้ำท่วม ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
»
หน่วยแพทย์ฉุกเฉิน สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ โทร 1669 กู้ชีพฟรี 24 ชั่วโมง
»
ศูนย์อำนวยการป้องกันสาธารณภัย นครศรีธรรมราช โทร. 075 358 440-4 รับเรื่องตลอด 24 ชั่วโมง
»
รพ. เทศบาลนครนครศรีฯ หากต้องการความช่วยเหลือ สามารถโทรติดต่อได้ที่ 075 356 438 หรือ 075 356 014 ตลอด 24 ชั่วโมง
»
ม.วลัยลักษณ์ ตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม บริเวณอาคารกิจกรรมนักศึกษา โทร. 0 7567 4013 ต่อ 4013
»
มูลนิธิประชาร่วมใจ นครศรีฯ พร้อมกู้ภัย โทร. 075 345 599
»
มูลนิธิมหากุศลใต้เต็กเซี่ยงตึ๊ง ต้องการความช่วยเหลือ โทรแจ้ง 075 343 602 ความถี่ 168.775MHz. ความถี่ 245 MHz. ช่อง 35 ตลอด 24 ชั่วโมง
»
ท่าอากาศยานไทย 02 535 1111
»
บางกอกแอร์เวย์ส (Bangkok Airways) 1771
»
นกแอร์ (Nok Air) 131802900 9955
»
นกแอร์ นครศรีธรรมราช 075 369 325
»
นกแอร์ สุราษฎร์ธานี 077 441 275-6
»
แอร์เอเชีย 02 515 9999
»
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 075-763-337 หรือ 1129 ตลอด 24 ชั่วโมง
»
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดนครศรีธรรมราช 0 7535 6044
»
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอท่าศาลา 0 7552 1180
»
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอสิชล 0 7577-1666, 0 7577 1592
»
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดสุราษฎร์ธานี 0 7727-2132
»
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอเกาะสมุย 0 7742 0995
»
โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช 0 7534 0250
»
ศูนย์ประสานงานช่วยเหลือ จ.สุราษฏร์ธานี "สภาองค์กรชุมชนเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย สุราษฏร์ธานี" ผู้ประสานงาน นายศุภวัฒน์ กล่อมวิเศษ โทร. 082-814-9381 , นายประวีณ จุลภักดี โทร. 081-397-7442
»
ศูนย์อำนวยการป้องกันสาธารณภัย จ. ชุมพร โทร. 077- 502-257 หรือ 077-503-230 (ตลอด 24 ชั่วโมง)
»
ศูนย์อำนวยการป้องกันสาธารณภัย จ.พัทลุง โทร.074-620-300 และ 074-611-652 (ตลอด 24 ชั่วโมง)
»
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ. สุราษฎร์ธานี โทร 077-275-550-1 (ตลอด 24 ชั่วโมง)
»
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ. กระบี่ โทร 075-612- 639 หรือ 075-612-649 หรือ 075-612-735 (ตลอด 24 ชั่วโมง)
»
กรมสุขภาพจิต 1323 ตลอด 24 ชั่วโมง
»
คปภ. นครศรีธรรมราช - ศูนย์รับแจ้งเหตุผู้ประสบภัยน้ำท่วม ด้านการประกันภัย โทร. 075-347322081-1748941

ซ่อมบ้านหลังน้ำท่วม

ข้อมูลนี้ เผื่อไว้สำหรับกรณีที่บ้านใคร น้ำท่วม แล้วมองหาข้อมูลความรู้ในการซ่อมบ้านหลังน้ำท่วม

1. ตรวจสอบระบบไฟฟ้าหลังน้ำท่วม
ขณะน้ำท่วมทุกบ้านคงจะปิดวงจรไฟฟ้าหรือคัทเอ้าท์ทั่วทั้งบ้านทำ ให้ไม่มีกระแสไฟฟ้าเดินในระบบ ซึ่งลดอันตรายแก่ผู้อยู่อาศัย และแก้ปัญหาจากไฟฟ้าลัดวงจรได้อย่างแน่นอน แต่เมื่อน้ำลดลงควรตรวจสอบระบบไฟฟ้าในบ้านของท่านดังนี้ครับ
เปิด คัทเอ้าท์ให้มีกระแสไฟฟ้าเข้ามา ถ้าปลั๊กหรือจุดใดจุดหนึ่งในระบบยังเปียกชื้นอยู่ คัทเอ้าท์จะตัดไฟและฟิวส์จะขาดให้ เปลี่ยนฟิวส์แล้วทิ้งไว้ 1 วันให้ความชื้นระเหยออกไปแล้วลองทำใหม่ หากยังเป็นเหมือนเดิมคงต้องตามช่างไฟมาแก้ไขดีกว่าเสี่ยงชีวิตครับ
เมื่อ ทดสอบผ่านขั้นตอนแรกไปแล้ว ลองทดสอบเปิดไฟฟ้าทีละจุดและทดสอบกระแสไฟฟ้าในปลั๊กว่ามาปกติหรือไม่ด้วย ไขควงทดสอบไฟ หากทุกจุดทำงานได้ก็สบายใจได้ หากมีปัญหาอยู่ต้องรอให้ความชื้นระเหยออกก่อน ถ้ายังมีปัญหาก็คงต้องตามช่างมาแก้ไขหรือเปลี่ยนปลั๊ก/ สวิช์เหล่านั้นครับ
ลองดับไฟทุกจุดในบ้าน ปลดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าออกทั้งหมด แต่ยังเปิดคัทเอ้าท์ไว้แล้งววิ่งไปดูมิเตอร์ไฟฟ้าหน้าบ้านว่า หมุนหรือไม่ หากไม่เคลื่อนไหวแสดงว่าไฟฟ้าในบ้านเราไม่น่าจะรั่ว แต่ถ้ามิเตอร์หมุนแสดงว่าไฟฟ้าในบ้านท่านอาจจะรั่วได้ ให้รีบตามช่างไฟมาดูแลโดยเร็วครับ
หาก พอมีงบประมาณสำหรับปรับเปลี่ยนระบบไฟฟ้าในบ้านของท่าน แนะนำให้ตัดปลั๊กไฟในระดับต่ำๆ ในบ้านชั้นล่างออกให้หมด (ถ้าคิดว่าน้ำท่วมอีกแน่ๆ ) แล้วปรับตำแหน่งปลั๊กไฟไป อยู่ที่ระดับประมาณ 1.10 เมตร หลังจากนั้นควรแยกวงจรไฟฟ้าออกเป็น 2-3 วงจร คือ 1. วงจรไฟฟ้าสำหรับบ้านชั้นล่าง (ที่น้ำอาจท่วมถึง) 2. วงจรไฟฟ้าสำหรับบ้านชั้นบนขึ้นไป (ที่น้ำท่วมไม่ถึง) 3. วงจรสำหรับเครื่องปรับอากาศ การกระทำดังกล่าวจะทำให้ท่านควบคุมการเปิด-ปิดวงจรไฟฟ้าในบ้านได้อย่างอิสระ และง่ายต่อการซ่อมแซมบำรุงรักษาครับ

2. ตรวจสอบระบบประปาหลังน้ำท่วม
เป็นอีกระบบที่มีความสำคัญเพราะเกี่ยวกับสุขอนามัยของผู้อยู่อาศัย มีแนวทางตรวจสอบระบบประปาในบ้านหลังน้ำท่วมดังนี้ครับ
ถ้ามีบ่อเก็บน้ำใต้ดิน หรือถังเก็บน้ำใน ระดับน้ำท่วมถึง พึงระลึกเสมอว่าน้ำที่ท่วมเป็นน้ำสกปรกเสมอ ดังนั้นควรล้างทำความสะอาดถังน้ำ และบ่อน้ำให้สะอาดเพื่อความปลอดภัยของท่านและสมาชิกในบ้าน โดยไม่เสียดายน้ำ แล้วจึงปล่อยน้ำประปาใหม่ลงเก็บไว้ใช้งานอีกครั้งหนึ่งครับ
บ้านที่มีระบบปั๊มน้ำควร ตรวจสอบอุปกรณ์ปั๊มน้ำ และถังอัดความดันว่าใช้งานได้เหมือนเดิมหรือไม่ โดยพิจารณาเสียงเครื่องทำงาน ดูแรงดันน้ำในท่อว่าแรงเหมือนเดิม (ก่อนน้ำท่วม) หรือไม่ หลังจากนั้นตรวจสอบดูว่าถังอัดความดันทำความดันได้ดีเหมือนเดิมหรือไม่
หาก มีความผิดปกติควรตรวจสอบด้วยการแกะ แงะ ไข ว่ามีเศษผง สิ่งสกปรกเข้าไปอุดตัน กีดขวางการทำงานของอุปกรณ์เหล่านี้หรือไม่หาก ปั๊มน้ำที่บ้านท่านถูกน้ำท่วม ให้เดาไว้ก่อนว่าน่าจะเสียหายและหากใช้งานต่อไปเลยอาจเกิดอันตรายจากความ ชื้นในมอเตอร์ได้ ควรเรียกหาช่างมาทำให้แห้งเสียก่อนตามกรรมวิธีทางเทคนิค (ที่ไม่ใช่นำไปตากแดดแบบเนื้อเค็ม) เพื่อลดความเสี่ยงจากเพลิงไหม้ในตัวมอเตอร์ได้ครับ

3. ตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าหลังน้ำท่วม
อุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ได้แก่เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น เครื่องซักผ้า มอเตอร์ และอาจรวมไปถึงรถยนต์ก็ ได้ เป็นเครื่องจักรกลที่เราท่านไม่น่าประมาท หรือหาทางแก้ไขซ่อมแซมเอง ถ้าไม่จำเป็นจริงๆ อย่าเพิ่งใช้เด็ดขาด เพราะอุปกรณ์เครื่องใช้เหล่านี้เมื่อโดนน้ำท่วม ก็แสดงว่าน้ำไหลเข้าไปในเครื่องเรียบร้อยแล้ว เราไม่มีทางรู้เลยว่าเจ้าอุปกรณ์เครื่องใช้เหล่านี้จะป่วยไข้ เสียหายแค่ไหน การนำไปตากแดดแล้วมาใช้งานต่อเป็นพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อชีวิตท่าน และอัคคีภัยในบ้านท่านมากจากการลัดวงจรของระบบไฟฟ้าและอุปกรณ์เครื่องกลของ เครื่องเหล่านั้น แต่ถ้าหากจะยังใช้งานจริงๆ ก็มีข้อแนะนำดังนี้ครับคือ
ตลอดเวลาที่ใช้ต้องมีคนอยู่ด้วยเสมอ เผื่อเวลาฉุกเฉินจะได้ปิดเครื่อง ดึงปลั๊กได้ทันที
ที่ Cut out ไฟฟ้าหลักของบ้านท่าน ต้องมีฟิวส์คุณภาพติดตั้งเสมอ หากเกิดไฟฟ้าลัดวงจรเมื่อใด ต้องแน่ใจว่าวงจรไฟฟ้าจะถูกตัดออกทันที
เมื่อไม่จำเป็นต้องใช้งานอุปกรณ์เหล่านี้ ต้องรีบนำไปแก้ไขซ่อมแซมโดยช่างผู้รู้ทันทีครับ

4. ซ่อมพื้นไม้ปาเก้หลังน้ำท่วม
ถ้า พื้นบ้านของท่านเป็นไม้ปาเก้ แล้วถูกน้ำท่วมก็ต้องเข้าใจไว้นิดหน่อยนะครับว่า ปาเก้หรือ ไม้แผ่นชนิดนี้อยู่ได้ด้วยกาวติดกับพื้นคสล. จึงแพ้น้ำ(ท่วม)อย่างแรง เพราะไม้จะบวมน้ำและหลุดล่อนออกมาในที่สุดเป็นเรื่องธรรมดา บางทีหากน้ำท่วมเป็นเวลานานๆ ก็อาจเกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์แถมมาให้อีกด้วยครับ มีวิธีตรวจสอบแก้ไขดังนี้ครับ
หากปาเก้เปียกน้ำเล็กน้อยไม่ถึงกับหลุดล่อนออกมา แค่เช็ดทำความสะอาดแล้วเปิดประตู หน้าต่างปล่อยให้แห้งโดย ให้อากาศถ่ายเทความชื้นออกไป ปาเก้จะเป็ฯปกติได้ไม่ยาก แต่ระวังว่าเมื่อปาเก้ยังชื้นอยู่ไม่ควรเอาสารทาทับหน้าไปทาทับ เนื่องจากจะไปเคลือบผิวไม่ให้ความชื้นในเนื้อไม้ระเหยออกมา
หากปาเก้มีอาการบิดงอ ปูดโปน เบี้ยวบูด กรุณาเลาะออกมาทันทีครับ และหากยังอยู่ในสภาพดีก็ผึ่งลมให้แห้งอาจนำมาใช้ประโยชน์ได้
หากท่านจะซ่อมแซมพื้นใหม่ ด้วย การเอาวัสดุปูพื้นชนิดใหม่ที่คงทนถาวรทนน้ำได้มากกว่า เช่น กระเบื้อง หรือหินอ่อน แกรนิต เหล่านี้ ต้องระวังอย่างยิ่งเรื่องน้ำหนักวัสดุที่จะปูทับหน้าว่าโครงสร้างเดิมจะรับ น้ำหนักได้หรือไม่ ไม่ควรทำไปดื้อๆ เลยเพราะบ้านท่านอาจเสียหายได้ครับ
หากรื้อหรือซ่อมแซมแล้ว ต้อง การปูปาเก้แบบเดิม หรือใช้วัสดุอื่นที่ใช้กาวเป้นตัวประสานเช่นกัน เช่น กระเบื้องยาง อย่าปูทับทันทีครับ ต้องรอให้พื้นคอนกรีตแห้งเสียก่อนแล้วจึงปูลงไปได้ ไม่เช่นนั้น ถึงน้ำไม่ท่วมรับรองว่าล่อนออกมาอีกแน่นอนครับ

5. ซ่อมผนังบ้านหลังน้ำท่วม
ผนังบ้านเรือนหากแช่น้ำไว้นานๆ ก็อาจมีการเสียหายไปบ้าง โดยเฉพาะพวกผนังสำเร็จรูปที่มีน้ำหนักเบาทั้งหลาย ลองมาดูวิธีแก้ไขกันครับ
ผนังไม้ ปกติ ไม้จะไม่เสียหายเมื่ออยู่ใต้ระดับน้ำ แต่มักผุกร่อนในจุดที่มีน้ำขึ้น น้ำลง ตลอดเวลา ดังนั้นเมื่อน้ำลดให้เอาผ้าเช็ดทำความสะอาด ขจัดคราบสกปรกออกเพื่อสุขภาพคนในบ้าน เพื่อให้ผิวไม้ระเหยความชื้นออกไปได้ เมื่อแน่ใจว่าผนังแห้งดี แล้วให้ใช้น้ำยารักษาเนื้อไม้ทาชะโลมลงที่ผิว (ต้องแน่ใจว่าแห้งแล้วจริงๆ มิฉะนั้นอาจเกิดการเน่าได้เนื่องจากความชื้นระเหยไม่ออก) การทาสีหรือยารักษาเนื้อไม้อาจทำภายในก่อนก็ได้เพื่อความสวยงามในการอยู่ อาศัย แล้วรออีกสักพัก (3-4 เดือน) จึงทาภายนอกอีกทีเพราะผนังภายนอกน่าจะแห้งสนิทดีแล้ว
ผนังก่ออิฐฉาบปูน ให้ ดำเนินการเหมือนกับผนังไม้ แต่ต้องทิ้งระยะเวลานานกว่าเนื่องจากผนังอิฐจะมีมวลสารและการเก็บกักความ ชื้นในตัววัสดุได้มากกว่าไม้ จึงต้องใช้เวลาระเหยความชื้นออกไปนานกว่า
นอก จากนี้หากผนังปูนเหล่า นี้มีสายไฟฟ้า ท่อไฟฟ้า ท่อน้ำฝังหรือเดินลอยไว้ก็ต้องใช้วิธีเดียวกับเนื้อหาตอนที่แล้ว ตรวจสอบระบบของอุปกรณ์เหล่านั้นให้อยู่ในสภาพเดิมไปพร้อมกันด้วยครับ
ผนังยิบซั่มบอร์ด เนื่องจากวัสดุชนิดนี้เป็นแผ่นผงปูนยิบซั่มที่หุ้มด้วยกระดาษอย่างดี แต่ไม่ว่าจะดีเพียงใดเมื่อเจอกับน้ำ(ท่วม) แล้วก็คงไม่น่าจะมีชีวิตต่อไปได้ ดังนั้นให้แก้ไขโดยเลาะเอาแผ่นชนิดนี้ที่โดนน้ำท่วมออกจากโครงเคร่าแล้วค่อย หาแผ่นใหม่มาติด ยาแนว ทาสีทับใหม่ก็เรียบร้อยใช้งานได้เหมือนเดิมครับ พึงระวังเล็กน้อยสำหรับโครงเคร่าผนังที่เป็นไม้ ต้องรอให้ความชื้นในโครงเคร่าระเหยออกไป หรือให้ไม้แห้งเสียก่อนจึงติดผนังเข้าไปใหม่ แต่ถ้าเป็นโครงเคร่าโลหะแบบที่นิยมใช้ในปัจจุบันคงไม่มีปัญหาครับ
ผนังโลหะ/กระจก วัสดุเหล่านี้โดยตัวเนื้องวัสดุคงไม่มีความเสียหาย เพียงแค่ทำความสะอาดขัดถูก็จะสวยงามเหมือนเดิม แต่ควรระวังเรื่องรอยต่อว่ามีคราบน้ำ เศษผง สิ่งสกปรกติดฝังอยู่บ้างหรือไม่ หากมีก็ให้ทำความสะอาดเสียให้เรียบร้อย เนื่องจากคราบน้ำ ความสกปรกอาจทำให้วัสดุยาแนวเสื่อมสภาพเร็วกว่ากำหนด

6. การซ่อมวอลล์เปเปอร์หลังน้ำท่วม
เมื่อน้ำท่วมบ้านที่มีผนังบุด้วย วอลล์เปเปอร์ มีวิธีแก้ไขและซ่อมแซม ดังนี้ วอลล์เปเปอร์จะ มีลักษณะคล้ายสี ถ้าโดนความชื้นมากๆ  จะลอกหรือร่อน การแก้ไขก็โดยการลอกออกให้หมด เพื่อให้ผนังที่ชื้นสามารถระเหยออกมาได้ โดยรอให้ผนังแห้งจริงๆ ทิ้งไว้ประมาณ 1 อาทิตย์ แล้วจึงปิด วอลล์เปเปอร์ทับลงไป อาจจะปิดเองถ้าทำได้ หรือตามช่างมา ก็ได้ ถ้าส่วนไหนขึ้นราหรือเป็นคราบเช็ดไม่ออก ก็สามารถเปลี่ยนแผ่นใหม่ โดยเลือกให้มีลวดลายเหมือนเดิม ก็จะได้ผนังสวยงามเหมือนก่อนน้ำท่วม

7. การซ่อมแซมฝ้าเพดานบ้านหลังน้ำท่วม
การ ซ่อมแซมฝ้าเพดาน จะมีลักษณะคล้ายๆ การซ่อมผนังและพื้นปนกัน มีวิธีการแก้ไขคือ ถ้าเป็นฝ้าเพดานยิปซั่มบอร์ด หรือกระดาษอัด  ถ้าเปื่อยยุ่ยมากเพราะอมน้ำ ก็ควรเลาะ ออกแล้วจึงเปลี่ยนแผ่นใหม่เลย ทิ้งไว้ให้ทั้งหมดแห้งสนิทจริงๆ แล้วจึงทาสีทับ
ถ้าเป็นฝ้าโลหะ ให้เช็ดทำความสะอาดให้แห้ง ถ้าเป็นสนิม ก็ใช้กระดาษทรายขัดออกให้เรียบร้อย แล้วจึงทาสีทับเข้าไปใหม่
ระบบสายไฟส่วนใหญ่ จะเดินในฝ้าเวลาเปิดฝ้าเข้าไปต้องตรวจดูว่าความเรียบร้อยว่า มีส่วนใดชำรุดหรือเปล่าด้วย
ถ้าโครงฝ้าเพดานที่เป็นไม้ เกิดการแอ่นหรือทรุดตัว ต้องแก้ไขให้ได้ระดับก่อนการติดตั้งแผ่นฝ้าใหม่

8. การซ่อมแซมประตู หลังน้ำท่วม
ประตูต่างๆ เมื่อถูกน้ำแช่อยู่นานๆ ก็จะบวมขึ้น หรือไม่ก็จะเกิดเป็นสนิม มีวิธีแก้ไขคือ
ประตูไม้ เมื่อโดนแช่น้ำก็จะบวมและผุพัง มีวิธีแก้ก็โดยทิ้งไว้ให้แห้ง แล้วซ่อมแซมส่วนที่ผุให้เรียบร้อยแล้วจึงทาสีใหม่ แต่ถ้าผุมาก ก็ควรจะเปลี่ยนเลย
ประตูเหล็กที่ขึ้นสนิม ก็ใช้กระดาษทรายขัดสนิมออกให้หมด เช็ดให้สะอาดแล้วจึงทาสีใหม่ โดยอย่าลืมทาสีกันสนิมก่อน แต่อย่าลืมดูรอยต่อต่างๆ โดยเฉพาะที่เป็นท่อโครงเหล็กว่า มีน้ำหลงเหลืออยู่เหลือเปล่า ต้องให้แห้งจริงๆ ก่อนจึงจะทาสีได้
ประตูพลาสติก ส่วนใหญ่จะทนน้ำได้ แต่ให้ระวังอาการที่มีน้ำขังสกปรก ให้หาวิธีเช็ดซับน้ำออก หรือเจาะรูให้น้ำออก
ทีนี้เวลาที่ ประตูบวมน้ำ หรือมีน้ำขังข้างใน จะทำให้น้ำหนักมากและประตูเอียง จากบานพับรับน้ำหนักไม่ไหว  หาลิ่มมายันไว้ก่อนให้ใกล้เคียงปกติ แล้วพยายามทำให้แห้งที่สุด จากนั้น ถ้ายังเอียงอยู่ จะไขน็อตเพิ่มหรือเปลี่ยนบานพับก็ตามสมควรครับ

9. การซ่อมแซม บานพับ ลูกบิด และรูกุญแจหลังน้ำท่วม
อุปกรณ์ต่างๆ เช่น บานพับ ลูกบิด และรูกุญแจ ทำด้วยโลหะ เมื่อโดนน้ำท่วมย่อมมี ปัญหาตามมา มีวิธีแก้ไข คือ
เช็ดให้แห้งสนิท ขัดส่วนที่เป็นสนิมออกให้หมด ใช้พวกน้ำยาหล่อลื่นชโลมตามจุดรอยต่อและรูต่างๆ ให้ทั่ว
อย่าใช้จาระบี หรือพวกขี้ผึ้งทา เพราะจะทำให้ความชื้นระเหยออกไม่ได้ จะทำให้ฝังอยู่ข้างใน และจะเป็นปัญหาในภายหลัง
ถ้ายังใช้การไม่ได้ ก็ลองทำตามวิธีที่ว่านี้หลายๆ ครั้ง ถ้ายังมีปัญหา ก็ควรจะต้องถอดออก แล้วซื้อมาเปลี่ยนใหม่

10. ซ่อมแซมสีทาบ้านหลังน้ำท่วม
การ ซ่อมแซมสีทาบ้านทั้ง ภายนอกและภายใน ควรเป็นสิ่งสุดท้ายในการแก้ไขปรับปรุงบ้าน เพราะเป็นเรื่องของเวลาที่ต้องปล่อยทิ้งให้ความชื้นหรือน้ำในตัววัสดุ ระเหยออกไปให้ได้มากที่สุดครับ มิฉะนั้นท่านทาสีทับไปดีอย่างไร ก็จะเกิดอาการหลุดล่อนในที่สุดครับ
ข้อควรคิดสำหรับการซ่อมแซมสี คือ ปัญหาสีลอก สีล่อนไม่ได้เกิดจากคุณภาพของสีแต่เกิดจากความไม่พร้อมของพื้นผิวที่ทาสี หากพื้นผิวที่ทาสีมีความชื้นหรือสิ่งสกปรกติดอยู่ทาสีทับอย่างไรสีก็จะ ล่อนออกมาอยู่ดีครับ
ข้อพึงกระทำเวลาซ่อมสี คืออย่างเพิ่งรีบทาสี ให้ทำความสะอาดลอกสีเดิมทิ้งออกมาให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ (เฉพาะที่มีปัญหานะครับ) แล้วทิ้งไว้นานๆ หลายๆ เดือนอาจรอจนถึงหน้าร้อนปีหน้าแล้วค่อยทาสีตามกรรมวิธีของผู้ผลิตก็ไม่สาย

11. การซ่อมแซมเฟอร์นิเจอร์หลังน้ำท่วม
การซ่อมแซมเฟอร์นิเจอร์ก็คล้ายๆ กับการซ่อมแซมพวกประตู หน้าต่าง พื้น หรือฝ้า เพดาน มีวิธีดังนี้
พยายามเอาความชื้นออกจากเฟอร์นิเจอร์ให้มากที่สุด
พวก ประเภทที่บุด้วยนุ่นหรือฟองน้ำ ถ้าเป็นไปได้ควรเปลี่ยนเลย เพราะน้ำจะพาเอาเชื้อโรคมาติดอยู่ ถึงจะตากแดดให้แห้ง เชื้อโรคก็ยังมีอยู่
เฟอร์นิเจอร์ที่ติดกับที่ที่เรียกว่า Built in ต้องตรวจสอบความแข็งแรงของโครงสร้าง และสายไฟที่ฝังอยู่ในตู้ รวมถึงทำความสะอาดรูกุญแจและลูกบิด
ส่วนเฟอร์นิเจอร์ไม้ ไม่ควรนำไปตากแดด เพราะจะทำให้บิดงอได้ และถ้าจะทาสีใหม่ ควรรอให้แห้งสนิทก่อน มิฉะนั้นจะลอกได้

12. ทำความสะอาดพรมหลังน้ำท่วม
ใช้สายยางฉีดน้ำแรงๆ เผื่อไล่สิ่งติดค้าง สิ่งสกปรกออกไป
รีดน้ำที่ขังอยู่ในพรมออกไป โดยการใช้อุปกรณ์ที่กดรีดได้ หรือม้วนบีบ (อย่าบีบแรงเกิน เดี๋ยวเนื้อพรมจะรวน)
ใช้ แชมพูสระผมเด็ก ทำความสะอาดพรมแล้วล้างออก จนกระทั่ง น้ำล้างใสสะอาด
ผึ่งแดดให้แห้ง

13. ทำความสะอาดเตียงนอนหลังน้ำท่วม
เตียงนอน ถ้าจมน้ำละก้อ กลายเป็นเรื่องน่าปวดหัวในการทำความสะอาดอย่างมาก แต่ถ้าคุณอยากจะนำมันกลับมาใช้ต้องพยายามกันหน่อย
ตากแดดให้แห้ง โดยพลิกคว่ำไว้ ตีแรงๆหลายๆครั้ง (ไล่น้ำ ไล่ฝุ่นออก)
ทำความสะอาดขจัดคราบเปื้อนต่างๆ ฉีดน้ำยาฆ่าเชื้อโรคแล้วผึ่งแดดอีกครั้ง
ฉีดสเปรย์ดับกลิ่น แล้วใช้ผ้าปูรองนอน

14. ขจัดความชื้นในบ้านหลังน้ำท่วมให้ได้มากที่สุด
ข้อ สุดท้าย อย่าลืมนะครับว่า หัวใจของการซ่อมบ้าน ดูแลบ้าน ส่วนหนึ่งคือ การขจัดความชื้นออกจากบ้าน และเฟอร์นิเจอร์ และส่วนประกอบต่างๆของบ้าน โดยเร็ว เพราะยิ่งชื้อนานก็จะเป็นแหล่งเพาะเชื้อ และรา ได้
เปิดหน้าต่าง ประตูระบายและถ่ายเทอากาศให้ได้มากที่สุด
ตู้ที่เปียกก็เปิดทิ้งไว้ ให้ระบายความชื้นเช่นกัน
ใช้พัดลม เปิดแอร์ (โหมดพัดลม)ก็ได้ จะเป็นการระบายความชื้นได้ครับ
ใช้สารดูดความชื้น (แบบเดียวกับที่มาใน ห่อขนม ห่อสาหร่าย หรือกล่องรองเท้าน่ะครับ)
ถ้าเร่งให้แห้งเร็ว ก็ใช้พวกไดร์เป่าผมกับส่วนที่ต้องการให้แห้งเร็ว

15. ขจัดเชื้อโรคเชื้อราหลังน้ำท่วม
สำหรับ พื้น เก้าอี้ เครื่องไม้เครื่องมือ เตาอบ ผนังบ้าน สามารถใช้น้ำยาประเภทล้างครัวเรือน ผนังห้องน้ำ (bleach) ได้ เพื่อขจัดเอาเชื้อโรค เชื้อราที่ฝังตัวออกไป
สำหรับเสื้อผ้าที่จมน้ำท่วม ซักผ้าแล้วลวกน้ำร้อนด้วยเลย
สำหรับจานชามช้อนให้ล้างด้วยน้ำยาล้างจานใหม่หมด
ที่ สำคัญระหว่างทำความสะอาดสิ่งของเหล่านั้น หลีกเลี่ยงการสัมผัสสูดดม (ทั้งเชื้อโรค และสารเคมีน้ำยาที่ใช้) ด้วยการใส่ถุงมือ และหน้ากาก

เรียบเรียงบางส่วนโดย Mthai.com และนำเนื้อหาบางส่วนจากที่มาต่อไปนี้
สยามรัฐ ฉบับวันที่ 03 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
S’Decor:  Asst.Prof.Ratchot Chompunich / Green AKU
http://www.asa.or.th/?q=node/104411
http://www.arch.ku.ac.th/2010/dean2.html  
http://www.arch.ku.ac.th/2010/dean3.html
แปลจาก http://www.best604homes.com
แปลจาก “Repairing Your Flooded Home” by Redcross.org
แปลจาก “Flyer Get Rid of Mold” by Center of Disease Control and Prevention

“ร้อยพันปัญหาในงานก่อสร้าง” via Softbizplus.com
ภาพจาก http://www.best604homes.com, http://www.homesqu.com, http://www.abc.net.au